top of page

ความยากง่ายในการลบรอบสัก

การสักถือเป็นเรื่องฮอตฮิตในช่วงหนึ่งของชีวิตวัยรุ่น

การสักถือเป็นเรื่องฮอตฮิตในช่วงหนึ่งของชีวิตวัยรุ่น ไม่ว่าจะสักลวดลายสวยงามตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือสักคิ้ว สักขอบตา

ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ด้วยเทรนแฟชั่น ความเชื่อ หรือเหตุผลจำเป็นบางอย่าง ทำให้มีหลายคนต้องการลบรอยสักออก แน่นอนว่าการลบรอยสักนั้นมีขั้นตอนและระยะเวลานานกว่าการสักที่ทำแค่เพียงวันเดียว

วันนี้ Modella Clinic มีคำตอบว่าทำไมการลบรอยสักต้องทำหลายครั้ง และความยากง่ายในการลบรอบสักแต่ละแบบนั้นดูจากอะไรได้บ้าง





วิธีลบรอยสัก

วิธีลบรอยสักรอยสักทำได้หลายวิธี ดังนี้

-การใช้สารเคมี (Chemical Peeling)

-การผ่าตัดศัลยกรรม (Surgical Removal)

-การใช้ความเย็น (Liquid nitrogen)

-การทำซาลาเบรชั่น (Salabrasion)

-การใช้เครื่องกรอผิว (Dermabrasion)

-การใช้เลเซอร์ (Laser)


ปัจจุบันการลบรอยสักด้วยเลเซอร์ถือเป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา โดยเฉพาะ PICO laser เทคโนโลยีทำลายเม็ดสีที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งโดยปกติจะใช้จำนวนครั้งในการรักษาอย่างน้อย 5 ครั้งขึ้นไป ห่างกันครั้งละ 2-4 สัปดาห์ ถึงจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามรอยสักแต่ละแบบก็จะใช้จำนวนครั้งในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกัน โดยได้มีการคิดค้นวิธีประเมินรอยสักแบบต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาความยากง่ายในการลบรอยสัก ซึ่งแบบประเมินที่นิยมนำมาใช้ คือ แบบประเมิน The Kirby-Desai Scale มีความแม่นยำในการคำนวณถึง 80% และเป็นที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ แบบประเมินมีวิธีพิจารณาจำนวนครั้งในการลบรอยสักแต่ละแบบ ดังนี้





1.โทนสีผิว

1.โทนสีผิว

ในผู้ที่มีผิวสีเข้มจำนวนครั้งในการรักษาด้วยเลเซอร์จะมากกว่าผู้ที่มีผิวขาว เนื่องจากผิวเข้มมีเม็ดสีอยู่หนาแน่น และเม็ดสีผิวมีคุณสมบัติในการดูดซับพลังงานเลเซอร์ได้ พลังงานเลเซอร์ที่ปล่อยออกมาจึงถูกดูดซับโดยเม็ดสีของผิวหนังมากกว่าที่จะถูกดูดซับที่เม็ดสีบริเวณรอยสักอย่างเดียว ทำให้การทำลายเม็ดสีของรอยสักน้อยลง การตอบสนองต่อการรักษาจึงน้อยลง


ตามหลักการจำแนกระดับสีผิวตามแบบ FItzpatrick Scale ที่คิดค้นโดย Thomas B. Fitzpatrick ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง แบ่งสีผิวออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

-กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผิวขาวจัด ซีด ผมสีแดง บลอนด์ นัยน์ตาสีฟ้า เขียวอ่อน ผิวหนังไวต่อแสงแดดมากที่สุด ถูกแสงแดดเผาไหม้ได้ง่าย แต่เมื่อหายผิวจะไม่เปลี่ยนเป็นสีแทน มักมีกระขึ้นบริเวณแก้ม จมูก และหน้าผาก เนื่องจากผิวมีเม็ดสีน้อยทำให้ถูกทำร้ายจากรังสี UV ได้มาก

-กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผิวขาว ผมสีแดง บลอนด์ นัยน์ตาสีฟ้า เขียว เทา ผิวหนังไวต่อแสงแดดมากแต่น้อยกว่ากลุ่มที่ 1 ถูกแสงแดดเผาไหม้ได้ง่าย มีโอกาสเกิดผิวสีแทนแต่น้อยมาก

-กลุ่มที่ 3 คือ ผิวขาวอมเหลือง พบมากในแถบเอเชีย นัยน์ตาสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลอ่อน ผมสีบลอนด์เข้ม น้ำตาล ทนต่อแสงแดดมากขึ้น ไม่ค่อยถูกแดดเผาไหม้ได้ง่าย ผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้

-กลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มผิวสองสี ผมสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม นัยน์ตาสีน้ำตาลเข้ม ริมฝีปากสีเข้ม ผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้ง่ายเมื่อเจอแสงแดด ผิวไหม้แดดน้อย

-กลุ่มที่ 5 คือ กลุ่มผิวสีน้ำตาลเข้ม ผมสีดำนัยน์ตาสีน้ำตาลเข้ม ดำ ผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้ง่ายเมื่อเจอแสงแดด ผิวไม่ไหม้แดด

-กลุ่มที่ 6 คือกลุ่มผิวสีดำหรือสีหมึก ผมสีและนัยน์ตาสีดำ ผิวทนต่อแสงแดดมากที่สุด ผิวไม่ไหม้แดด ผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนแต่ถูกเม็ดสีผิวดำบังไว้จึงไม่เห็นสีแทน





2. ตำแหน่งรอยสัก

2. ตำแหน่งรอยสัก

ตำแหน่งของรอยสักบนร่างกายมีผลต่อการลบรอยสัก เนื่องจากเม็ดสีที่แตกละเอียดหลังยิงเลเซอร์จะถูกกำจัดออกทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตำแหน่งของรอยสักที่อยู่ใกล้บริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดขนาดใหญ่จึงถูกกำจัดออกได้ง่ายและไวกว่า เช่น บริเวณศีรษะ คอ ลำตัวส่วนบน ลำตัวส่วนล่างตามลำดับ และใช้เวลากำจัดนานกว่าหากอยู่ไกลออกไป เช่น ปลายแขน ปลายขา เป็นต้น ทำให้จำนวนครั้งในการรักษามากกว่า






3. สีหมึก

3. สีหมึก

สีหมึกของรอยสักถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจราณาจำนวนการรักษา มีช่างสักหลายคนที่ผสมสีหมึกหลายสีด้วยกันเพื่อลวดลายที่สวยงาม เพื่อสร้างความสมจริงมากขึ้น สีที่ช่างสักนิยมใช้บ่อยที่สุด คือ สีดำ แดง น้ำเงิน เขียว และเหลือง สีที่ลบได้ง่ายที่สุด คือ สีดำ เนื่องจากเป็นสีที่ดูดซับแสงได้ทุกความยาวคลื่น ทำให้ถูกทำลายเป็นเม็ดสีละเอียด ๆ ได้ง่าย รองลงมาคือสีแดง ส่วนสีที่กำจัดได้ยากทำให้ต้องรักษาหลายครั้ง ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง และสีน้ำเงิน





4. ปริมาณหมึก

4. ปริมาณหมึก ความชำนาญของช่างสักที่แตกต่างกัน ทำให้มีปริมาณหมึกในรอยสักแตกต่างกัน ช่างสักมืออาชีพจะลงปริมาณหมึกหนาแน่นกว่า สีอิ่มเต็ม ลงลึกถึงผิวชั้น Dermis ทำให้จำนวนครั้งในการลบรอยสักมากกว่าการลงปริมาณหมึกไม่หนาแน่น และลงแค่ชั้นผิวตื้นๆ ซึ่งส่วนมากมักทำในช่างมือสมัครเล่น การแบ่งปริมาณหมึกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ Amateur คือ มีตัวอักษร คำ หรือสัญลักษณ์ขนาดเล็ก Minimal คือ มีสีเดียว รูปแบบดีไซน์เรียบง่าย Moderate คือ มีสีเดียว รูปแบบดีไซน์ซับซ้อน Significant คือ มีหลายสี รูปแบบดีไซน์ซับซ้อน






5. ผิวบริเวณรอยสัก

5. ผิวบริเวณรอยสัก

การสักอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อผิวหนังได้เนื่องจากทำให้มีการสะสมของคอลลาเจนมากขึ้น ในบางครั้งอาจเกิดเป็นรอยแผลเป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการลงน้ำหนักมือของช่างสัก โทนสีผิวของผู้สัก โดยเฉพาะโทนผิวสีเข้มที่มักเกิดรอยแผลเป็นได้ง่าย ลบออกได้ยาก จำนวนครั้งในการรักษาจึงมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มโทนผิวสีขาว และในบริเวณเนื้อเยื่อผิวหนังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง





6. การสักทับ

6. การสักทับ

มีหลายคนที่สักแล้วไม่พอใจรอยสักเดิม จึงแก้ปัญหาโดยการสักทับรอยสักเดิมเพื่อปกปิด ทำให้การลบรอยสักทำได้ยากขึ้น ใช้จำนวนครั้งในการรักษามากขึ้น เนื่องจากรอยสักใหม่มักมีขนาดใหญ่กว่าเดิม มีการใช้ปริมาณหมึกเป็นสองเท่าเพื่อปกปิดรอยสักที่มีอยู่ก่อนหน้าให้หมด ดังนั้นการลบรอยสักด้วยเลเซอร์จึงเป็นเพียงการลบรอยสักใหม่เท่านั้น รอยสักเดิมจะยังคงเห็นอยู่ การรักษาจึงจำเป็นต้องทำร่วมกับอีกหลายๆ วิธีเพื่อกำจัดหมึกออกให้มากที่สุด






ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page