top of page

ติ่งเนื้อ กระเนื้อ! ไม่ได้อันตราย แต่ปล่อยไว้คงไม่สบายตา

“ติ่งเนื้อ กระเนื้อ” ส่วนเกินที่สร้างความน่ารำคาญ อาการคัน และสร้างความกังวลต่อสภาพผิวหนังของเรา

ติ่งเนื้อ กระเนื้อ! ไม่ได้อันตราย แต่ปล่อยไว้คงไม่สบายตา


“ติ่งเนื้อ กระเนื้อ” ส่วนเกินที่สร้างความน่ารำคาญ อาการคัน และสร้างความกังวลต่อสภาพผิวหนัง ที่หลายคนสงสัยว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือไม่!

“ติ่งเนื้อ กระเนื้อ” คืออะไร หากสังเกตผิวหนังรอบ ๆ ตัว มีสิ่งที่เหมือนก้อนเนื้อปูดออกมาแบบผิดปกติ นอกจากนี้ยังสร้างความงุนงงเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ว่าติ่งเนื้อเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายอื่น ๆ และมีวิธีการรักษาไม่ให้มากวนใจได้หรือเปล่า วันนี้ Modella Clinic มีวิธีจัดการปัญหาติ่งเนื้อ กระเนื้อ มาฝากกันค่ะ





ติ่งเนื้อ กระเนื้อเกิดจากอะไร? ลักษณะเป็นเเบบไหน?

ติ่งเนื้อ (Skin tags หรือ Acrochordon) คือ เนื้องอกขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยเส้นเลือด เนื้อเยื่อผิวหนัง ทั้งหนังกำพร้า หนังแท้ เนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมไปถึงพังผืด มักพบในคนอายุ 30-50 ปี ส่วนสาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อคาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามอายุ โดยติ่งเนื้ออาจมีขนาดใหญ่และมีจำนวนเพิ่มตามอายุของคนเรา ทั้งนี้อาจพบติ่งเนื้อได้ในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การขยายของเซลล์ในชั้นผิวหนัง รวมไปถึงพันธุกรรม


ลักษณะของติ่งเนื้อจะเป็นตุ่มนิ่ม ๆ ที่ยื่นออกมาจากผิวหนัง มีสีเดียวกับผิวหนังหรืออาจเข้มกว่านิดหน่อย ขนาดของติ่งเนื้อพบได้ตั้งแต่ไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ไปจนถึงขนาดที่มากกว่า 10 มิลลิเมตร โดยติ่งเนื้อมักจะเกิดในบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกันบ่อย­­­ และตามรอยพับ รอยย่นต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใต้หน้าอกของผู้หญิง รักแร้ คอ เปลือกตา นอกจากนี้ยังอาจเจอติ่งเนื้อที่ผิวหนังบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับได้อีกด้วยละ


กระเนื้อ คือ ผลจากการผิดปกติของผิวหนังส่วนบน โดยจะมีลักษณะเป็นตุ่ม ทำให้ผิวบริเวณนั้นมีความขรุขระ ไม่เรียบเนียน โดยมีสีที่แตกต่างกันได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนกระทั่งสีดำ และมีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนกระทั่งใหญ่เป็นเซนติเมตรเมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้น กระเนื้อก็จะเริ่มเกิดขึ้นได้มากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของกระเนื้อ แต่เชื่อว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดมีดังนี้


อายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดกระเนื้อได้มากตามวัย โดยพบบ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไปได้ถึง 90% และมักเกิดกับผู้ใหญ่วัยกลางคนอายุระหว่าง 30-40 ปีเช่นกัน ซึ่งอัตราการเกิดในเพศชายและหญิงเท่ากันและไม่ค่อยพบในคนอายุน้อยกว่า 20 ปี

พันธุกรรม บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นกระเนื้อมักมีเกิดกระเนื้อสูงกว่าคนทั่วไปจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

แสงแดด ผู้ที่ตากแดดเป็นเวลานานหรือชอบอยู่กลางแจ้งมีโอกาสเกิดกระเนื้อมากขึ้น

สาเหตุอื่น ๆ เช่น เป็นโรคผิวหนัง การติดเชื้อไวรัส การกลายพันธุ์ของยีน


กระเนื้อ เกิดขึ้นที่ใดในร่างกายได้บ้าง?

กระเนื้อ มักจะถูกพบได้บ่อยที่บริเวณหน้าอก หลัง ใบหน้า คอ และหนังศรีษะ แต่จริง ๆ กระเนื้อสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกตำแหน่งของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด ซึ่งในระยะแรกของ กระเนื้อ จะเกิดเป็นตุ่มสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะที่นูนหนาขึ้น นอกจากนี้ กระเนื้อจะสีเข้มและทำให้ผิวขรุขระไม่เรียบเนียนมากขึ้น





ติ่งเนื้อ กระเนื้ออันตรายไหม? จะใช่มะเร็งหรือเปล่า?

ติ่งเนื้อเป็นเนื้องอกขนาดเล็กที่ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ และติ่งเนื้อส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็งร้าย เพียงแต่การมีติ่งเนื้ออาจจะทำให้ผิวดูไม่เรียบเนียน เป็นปัญหาด้านความสวยงามซะมากกว่า โดยเฉพาะหากมีติ่งเนื้อที่หน้าหรือที่ตา หรือในบางคนอาจรู้สึกระคายเคืองเมื่อติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้า จนก้านที่ยึดติ่งเนื้อถูกบิดและทำให้เจ็บได้ แต่ทั้งนี้หากมีอาการเจ็บติ่งเนื้อหรือพบติ่งเนื้อมีความผิดปกติไปก็สัมพันธ์กับการเกิดโรคในร่างกายได้เหมือนกัน


กระเนื้อ สามารถกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ?

ดังที่กล่าวแล้วว่าแทบทุกคนจะมีกระเนื้อเมื่ออายุมากขึ้น ถ้ากระเนื้อไม่ได้เกิดขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็วแล้วจะไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติอื่นในร่างกาย แต่เนื่องจากกระเนื้อมักจะมีขนาดโตขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และถ้ามันอยู่ในบริเวณที่กระทบกระแทบง่าย หรือเราไปแกะเกาทำให้มีเลือดออกก็ขอแนะนำให้รักษา กระเนื้อที่มีสีดำมากจนผิดปกติ บางครั้งแยกยากจากมะเร็งผิวหนังบางอย่าง ในกรณีเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง





ติ่งเนื้อ กระเนื้อแบบไหนผิดปกติ

โดยปกติติ่งเนื้อบนผิวหนังจะไม่เจ็บ ไม่แสดงอาการอะไร ยกเว้นติ่งเนื้อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะถือว่าเป็นความผิดปกติ


1. ติ่งเนื้อมีสีเข้มกว่าสีผิวไปมาก เช่น ผิวมีสีเหลืองนวล แต่ติ่งเนื้อมีสีดำ เป็นต้น


2. ติ่งเนื้อมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน


3. ติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่เกิน 5 มิลลิเมตร และมีขนาดใหญ่ขึ้นเร็วผิดปกติ


4. ติ่งเนื้อที่แกว่งไปมา ไม่มีก้านยึดกับผิวหนัง หรือมีเลือดออก รู้สึกคัน


5. ติ่งเนื้อมีลักษณะแข็ง เหมือนเป็นก้อนเนื้อนูนออกมา


หากพบติ่งเนื้อลักษณะผิดปกติดังกล่าว แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าใช่ติ่งเนื้อจริง ๆ ไหม หรือเป็นความผิดปกติของผิวหนังจากโรคอื่น เช่น หูด ไฝ ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นเนื้อร้ายได้





ติ่งเนื้อผิดปกติ สัมพันธ์กับโรคอะไรได้บ้าง?

ติ่งเนื้อผิดปกติ พบได้บ่อยในโรค ดังนี้


1. โรคอ้วน

คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนมาก มักจะมีติ่งเนื้อจำนวนมากขึ้นตามลำคอ ข้อพับ หรือรักแร้


2. ภาวะไขมันในเลือดสูง

คนที่มีระดับไขมันในเลือดสูง อาจพบว่ามีติ่งเนื้อที่ผิวหนังอันเกิดจากภาวะไขมันสะสมได้


3. โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานกว่า 10 ปี ร่วมกับมีอาการไตวาย อาจพบว่ามีตุ่มนูนแข็งสีเหลืองหรือสีน้ำตาลที่ผิวหนัง มีพลัคอยู่ตรงกลาง คันมาก หรืออาจพบตุ่มนูนสีแดง ไม่คัน ตามลำตัว แขน หรือขา ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายดื้ออินซูลิน





วิธีป้องกันการเกิดติ่งเนื้อ กระเนื้อ

เราสามารถป้องกันการเกิดติ่งเนื้อบนผิวหนังได้ ดังนี้


1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนขึ้น


2. ดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อไม่ให้ป่วยเป็นเบาหวาน หรือมีระดับไขมันในเลือดสูง


3. ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหนัง


วิธีป้องกันการเกิดกระเนื้อ

ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดกระเนื้ออย่างแน่ชัด จึงป้องกันได้ยาก เพราะบางสาเหตุมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ นอกจากนั้นก็อาจลดความเสี่ยงได้โดยหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด เช่น สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดอย่างขายาว แขนยาว หรือหมวก หลีกเลี่ยงการตากแดดในช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้าถึง 3 โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรง และทาครีมกันแดด ที่มี SPF 50 เป็นอย่างน้อย เพื่อปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด






วิธีการป้องกันการเกิดติ่งเนื้อ กระเนื้อ

วิธีการป้องกันการเกิดติ่งเนื้อ กระเนื้อ


ติ่งเนื้อไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพหรือร่างกาย หากไม่ได้ห่วงเรื่องความสวยความงามจะปล่อยติ่งเนื้อไว้อย่างนั้นก็ได้ แต่ถ้าหากติ่งเนื้อบนผิวหนังทำให้รำคาญ ใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับได้ไม่สวย เราก็สามารถปรึกษาแพทย์ให้ช่วยกำจัดติ่งเนื้อ ซึ่งหลังกำจัดติ่งเนื้อจะเหลือเพียงแผลถลอกแดง ๆ ตื้น ๆ เท่านั้น และ 1 สัปดาห์ให้หลังผิวหนังจะกลับมาเป็นปกติ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดติ่งเนื้อ กระเนื้อที่ได้ผล แต่สามารถรักษาติ่งเนื้อ กระเนื้อ ที่เกิดขึ้นมาแล้วได้ โดยวิธีรักษามีหลายวิธี คือ


จี้ออกด้วยเลเซอร์ ทายาชาก่อนทำ วิธีนี้จะทำให้มีแผลตื้น ๆ บริเวณที่จี้แล้วขูดออก ซึ่งแผลจะหายภายใน 1 สัปดาห์

จี้ด้วยสารเคมี เช่น กรดไตรคลออะซิติค วิธีนี้ไม่ต้องใช้ยาชา แต่จะมีอาการแสบบริเวณตำแหน่งที่จี้ การจี้จะทำให้เนื้อเยื่อ บริเวณนั้นตายและหลุดออก ข้อเสีย คือ ถ้ากระเนื้อหนามากอาจหลุดไม่หมด ทำให้ต้องจี้หลายครั้ง

จี้ด้วยไนโตรเจนเหลว วิธีนี้จะทำให้เกิดตุ่มน้ำพองขึ้นใต้รอยโรค ซึ่งต่อไปจะแห้งเป็นสะเก็ดแล้วหลุดไปใน 2-3 สัปดาห์ ข้อเสียคือบางครั้งอาจเกิดรอยดำหรือขาวหรือแผลเป็นบริเวณรอยโรค สำหรับรอยดำหรือขาวที่เกิดจะจางไปได้ตามเวลา





กำจัดติ่งเนื้อด้วยตัวเองได้ไหม ?

กำจัดติ่งเนื้อด้วยตัวเองได้ไหม ?


หลายคนคิดจะใช้ของใกล้ตัว อย่างขิง กระเทียม ปูนแดง น้ำมะนาว มากำจัดติ่งเนื้อด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่การกำจัดติ่งเนื้อด้วยวิธีธรรมชาติใช้ไม่ได้ผลจริง เนื่องจากติ่งเนื้อประกอบไปด้วย เส้นเลือด เนื้อเยื่อ และพังผืด จึงมีความเหนียวและแข็งแรงพอสมควร แต่ความเป็นกรด-ด่าง จากธรรมชาติของกระเทียม น้ำมะนาว ขิง ปูนแดง ไม่มีฤทธิ์มากพอจะกำจัดติ่งเนื้อบนผิวหนังไปได้ อีกทั้งการตัดติ่งเนื้อหรือจี้ติ่งเนื้อด้วยตัวเองอาจมีแผลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ดังนั้นหากต้องการกำจัดติ่งเนื้อแนะนำให้พบแพทย์ดีกว่า เพราะปัจจุบันการกำจัดติ่งเนื้อก็ทำได้ง่าย และราคาไม่แพงจนเกินไป





ขอแนะนำ CO2 Laser

CO2 Laser

เป็นเลเซอร์ที่ผลิตแสงที่มีความยาวช่วงคลื่น 10,600 nm.โดยจะกระตุ้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้คายพลังงานออกมาในรูปแบบแสง ใช้ในการรักษาปัญหาผิวพรรณต่าง ๆ อาทิ ไฝ, ขี้แมลงวัน, หูด, ติ่งเนื้อ, กระเนื้อ, สิวหิน, สิวข้าวสาร, สิวอุดตัน และต่อมไขมันโต ซึ่งในการรักษาด้วยเลเซอร์ ในบางคนที่มีปัญหาผิวหลาย ๆ จุด เช่น มีไฝหลายเม็ด ไฝเม็ดใหญ่ หรือมีกระเนื้อจำนวนมาก ก็สามารถยิงเลเซอร์ในคราวเดียวได้ การรักษาปัญหาผิวพรรณด้วยแสงเลเซอร์ CO2 ไม่ยุ่งยากและมีความปลอดภัยโอกาสเป็นแผลเป็นต่ำ


ข้อดีของการรักษาด้วย CO2 Laser

• เลเซอร์จะทำลาย หรือตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่แสงเลเซอร์ โฟกัสลงไปเท่านั้น โดยที่เนื้อเยื่อรอบข้างจะไม่ถูกทำลาย

• ขอบแผลเรียบสวย เนื่องจากความแม่นยำของแสงเลเซอร์ในการผ่าตัด

• ไม่มีเลือดออกที่บาดแผล หรือเลือดออกน้อยมาก เนื่องจากเลเซอร์จะช่วยในการหยุดเลือดไปในตัวด้วย (Coagulation)

• แผลหายเร็ว และรอยแผลสวย

• โอกาสเกิดแผลเป็นน้อย





ขั้นตอนการรักษาด้วย Co2 Laser

ขั้นตอนการรักษาด้วย Co2 Laser


• กรณีจี้ไฝ กระ ติ่งเนื้อ จะต้องทายาชา ทิ้งไว้ 30-45 นาที หรือ ฉีดยาชาบริเวณที่ต้องทำการรักษา ในกรณีที่จุดที่ต้องการทำการรักษามีขนาดใหญ่ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะยิงเลเซอร์

• สวมเเว่นดำเพื่อป้องกันเเสงเลเซอร์ขณะทำการรักษา

• ผู้เชี่ยวชาญจะกำหนดพลังงานเเสงให้ตรงกับปัญหา แล้วทำการยิงรักษาด้วยเลเซอร์

หลังทำการรักษาแพทย์จะทำความสะอาดแผล ทายาฆ่าเชื้อ

นัดดูแผลอีกทีภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยทั่วไปแผลที่เกิดจาก Co2 Laser ปากแผลจะเรียบและมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิดแผลเป็น ในกรณีรักษาสิวจะมีจุดแดง ๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 4-7 วัน รอยแดงจะหายสนิท


การเตรียมตัวก่อนทำ CO2 Laser


• หากมีโรคประจำตัว รับประทานยาหรืออาหารเสริม หรือมีประวัติการแพ้ยาต่างๆ โดยเฉพาะยาชา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการทำเลเซอร์






การดูแลรักษาผิว หลังทำเลเซอร์

การดูแลรักษาผิวหลังทำเลเซอร์


• แผลห้ามถูกน้ำ 24 ชม. แรก หรือตามแพทย์สั่ง

• หลังจาก 24 ชม.ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า และเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ และทายาที่แพทย์สั่งเช้า – เย็น จนกว่าสะเก็ดจะหลุดไปเอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

• เมื่อเริ่มมีสะเก็ดห้ามแกะ รอให้สะเก็ดหลุดไปเอง

• เมื่อสะเก็ดหลุดให้เริ่มทาครีมกันแดดทุกวันในตอนเช้า และพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุด

• ถ้ามีปัญหารอยดำเกิดขึ้นให้ปรึกษาแพทย์












ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page