ปัญหาผิวหน้าขรุขระ ไม่เรียบเนียน ทำไงดี?
เป็นสิวก็ถือว่าหนักใจแล้ว แต่หลุมสิวทีเหลือทิ้งไว้กลับทำให้หนักใจ
ยิ่งกว่า

เป็นสิวก็ถือว่าหนักใจแล้ว แต่หลุมสิวทีเหลือทิ้งไว้กลับทำให้หนักใจยิ่งกว่า หลายคนคงหมดความมั่นใจเพราะเคยประสบปัญหาผิวหน้าขรุขระ ไม่เรียบเนียน จากมีหลุมสิว นอกจากจะแต่งหน้าไม่ติดแล้ว รักษาก็ยากอีกด้วย
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าหลุมสิวเกิดจากอะไร มีกี่แบบ และจะรักษายังไงให้ผิวหน้ากลับมาเรียบเนียน
หลุมสิวคืออะไร?

หลุมสิว คือ รอยแผลเป็นประเภทหนึ่งที่เกิดหลังจากการเป็นสิว ซึ่งเป็นกระบวนการการทำงานของร่างกายหลังเกิดบาดแผลหรือการอักเสบ ส่วนมากหากเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บแค่ผิวชั้นบนก็จะไม่ทิ้งรอยแผลที่ยุบตัวให้เห็น แต่ถ้าหากเกิดการอักเสบลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ ส่งผลให้คอลลาเจนในส่วนนั้นถูกทำลาย เมื่อการอักเสบหายไป แผลจะสร้างพังผืดที่ดึงรั้งไว้ทำให้ผิวหนังยุบลงไปเกิดเป็นหลุมสิว
นอกจากนี้หลุมสิวยังมีลักษณะแตกต่างจากผิวโดยรอบ ทำให้ต่อมน้ำมัน หรือต่อมเหงื่อไม่สามารถทำงานในเนื้อเยื่อแผลเป็นได้ และเส้นขนก็ไม่สามารถเติบโตได้เช่นกัน เนื้อเยื่อบริเวณแผลเป็นก็จะมีเส้นใยยืดหยุ่นน้อยกว่า ผิวดูแข็งขึ้น การไหลเวียนและการให้ความชุ่มชื้นลดลง ทำให้เนื้อเยื่อแผลเป็นรักษาระดับความชุ่มชื้นได้น้อยลงและเนื้อเยื่อผิวอาจตายได้
ลักษณะของสิวที่สามารถกลายเป็นหลุมสิวได้

ส่วนใหญ่สิวที่มักทิ้งร่องรอยหลุมสิวไว้ มักเป็นสิวที่มีการอักเสบมาก เม็ดใหญ่ เป็นโพรงหนอง และการรักษาที่ไม่ถูกวิธี มีการบีบ แคะ แกะ เกา ก็มีโอกาสทำให้เกิดเป็นหลุมสิวได้ง่ายขึ้น
ลักษณะของสิวที่สามารถกลายเป็นหลุมสิวได้ เช่น
- สิวหัวช้างเม็ดใหญ่ ๆ (Conglobata ance) มีลักษณะหนองปนเลือดอยู่ภายในหัวสิว
- สิวอักเสบรุนแรง (Pustule) หรือสิวหัวหนอง มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและปวด ข้างบนตุ่มมีหัวหนองสีเหลือง
- สิวอักเสบแดง (Nodular acne) มีลักษณะใหญ่ เป็นก้อนลึก เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ
ระดับความรุนแรงของหลุมสิว

ระดับความรุนแรงของหลุมสิว
1. ระดับความรุนแรงทั่วไป (Rolling Scar) ระดับนี้หลุมสิวจะมีลักษณะตื้น ๆ เป็นแอ่งเว้าลงไป ความลึกของหลุมสิวอยู่เฉพาะพื้นที่ส่วนบนผิว ดังนั้นการรักษาจึงง่ายกว่าหลุมสิวระดับอื่น
2. ระดับความรุนแรงปานกลาง (Box Scar) ระดับนี้หลุมสิว ลักษณะเป็นบ่อมีความชัดของขอบและบริเวณกว้างกว่าระดับ Ice pick scar แต่จะมีความตื้นมากกว่า เพราะกินความลึกแค่ชั้นผิวเท่านั้น ไม่ได้กินไปจนถึงชั้นรูขุมขน การรักษาสามารถใช้วิธีการทายาทา ควบคู่ไปกับการทำทรีตเมนต์ แต่จะยังมีรอยหลุม ร่องรอยจุดด่างดำเหลืออยู่บ้าง
3. ระดับความรุนแรงที่สุด (Ice Pick Scar) รอยหลุมสิว ลักษณะเป็นขอบชัด ปากหลุมแคบ และลึกมากรักษาได้ยากและใช้เวลานาน ซึ่งหลุมระดับนี้ใช้ยาทาไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร เพียงช่วยให้รอยหลุมสิวนั้นตื้นขึ้นมาเท่านั้น
4 วิธีป้องกันการเกิดหลุมสิว

วิธีป้องกันการเกิดหลุมสิว
1.รีบรักษาสิวทันทีที่สิวเริ่มขึ้น โดยการทายากลุ่มรักษาสิว ถ้าหากทาแล้วไม่ดีขึ้น หรือสิวอักเสบมีขนาดใหญ่มากควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้สิวอักเสบยิ่งแย่ลง ยิ่งสิวอักเสบเม็ดใหญ่ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทิ้งหลุมสิวมากขึ้น ดังนั้น ห้ามแกะ บีบ หรือขัดถูใบหน้าแรง ๆ เมื่อเป็นสิวเด็ดขาด เพราะการบีบเค้นทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น อาจลงไปในชั้นผิวที่ลึกขึ้น และกระบวนการสมานแผลของร่างกายจะใช้เวลานานขึ้น เกิดพังผืดมากขึ้นก็จะกลายเป็นแผลเป็นหรือหลุมสิวถาวรได้
3. ห้ามแกะสะเก็ดหลังจากหัวสิวหลุดแล้ว เพราะสะเก็ดที่ยังไม่หลุดหมายความว่ากระบวนการสมานแผลยังไม่เสร็จสิ้น การแกะสะเก็ดทำให้กระบวนการรักษาถูกยืดออกไป การสร้างพังผืดมีมากขึ้น ทำให้เกิดการดึงรั้งของผิวหนังเป็นรอยหลุมสิว
4.ในผู้ที่เป็นสิวเม็ดใหญ่และลุกลามเป็นพื้นที่กว้าง มีแนวโน้มที่จะเป็นรอยหลุมสิวมากกว่าคนที่มีสิวน้อยกว่า ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
8 วิธีรักษาหลุมสิวในปัจจุบัน

การรักษาหลุมสิวสามารถทำได้หลากหลายวิธี เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการแพทย์และความงามที่ทันสมัย โดยในปัจจุบันวิธีการรักษาที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่
1.การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser)
เป็นการรักษาที่เป็นที่นิยม และเห็นผลชัดเจน โดยการรักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์มี 2 ชนิดหลัก ๆ คือ
1.1 เลเซอร์ชนิดไม่ลอกผิว (Non-ablative laser resurfacing)
การรักษาผิวส่วนลึกโดยไม่มีผลต่อผิวส่วนบน ทําให้เกิดผลข้างเคียงจากเลเซอร์น้อยกว่าเลเซอร์ชนิดลอกผิว เป็นการกระตุ้นจากด้านล่าง ซึ่งไม่ได้ผลกับหลุมสิวเท่าที่ควร โดยหลุมสิวจะตื้นขึ้น 30-50% ส่วนเลเซอร์ชนิดลอกผิวจะทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น 50-70% ข้อดีของชนิดไม่ลอกผิวคือหลังการรักษาจะไม่มีแผล และไม่ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เลเซอร์ในกลุ่มนี้ เช่น 1064-nm, Q-switched, Nd:YAGlaser, IPL, Diode laser
1.2 เลเซอร์ชนิดลอกผิว (Ablative laser resurfacing)
เลเซอร์ชนิดนี้สามารถรักษาหลุมสิวได้ทั้ง 3 ประเภท โดยจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้น ด้วยการใช้เลเซอร์ทำให้ผิวหนังเกิดการบาดเจ็บในระดับที่พอดี และเกิดการสร้างคอลลาเจนใหม่ตามมา โดยการบาดเจ็บนั้นจะต้องไม่สร้างความเสียหายมากหรือน้อยไป และอยู่ในระดับความลึกที่พอดี เนื่องจากหากบาดเจ็บมากไปก็อาจจะเกิดแผลเป็นที่มากกว่าเดิม แผลเป็นนูน การติดเชื้อ หรือถ้าน้อยไปก็อาจจะไม่เห็นผล เลเซอร์ในกลุ่มนี้ เช่น Fraxel, FineScan, E-Matrix, Fractora, Erbium-YAG, CO2
ต่อมาได้มีการพัฒนาเลเซอร์ชนิดลอกผิว เพื่อลดผลข้างเคียง เช่น รอยแดง รอยดำ แผลเป็นนูน เป็นเลเซอร์ชนิดลอกผิวแบบ Fractional โดยพลังงานจะออกเป็นส่วน ๆ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ตัวอย่างเลเซอร์ที่เป็นที่นิยมทำในปัจจุบัน เช่น Fractional CO2, Fractional Erbium YAG, Fractional RF
2.การรักษาด้วยเข็มขนาดเล็ก (Microneedling)
การรักษาหลุมสิวแบบที่ใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมาก จิ้มลงไปในผิวเพื่อผ่านตัวยาเข้าไปในผิว จึงทำให้ผิวสร้างตัวและฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น หลุมสิวจึงตื้นขึ้น วิธีนี้ใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Derma Roller ลักษณะเป็นลูกกลิ้งติดเข็มเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25 มิลลิเมตร และความยาวของเข็มลึกไปถึงชั้นหนังแท้ ขั้นตอนการทำคือ กลิ้งเครื่องมือนี้ไปบนใบหน้าเข็มจะเจาะลงไปถึงชั้นหนังแท้ หลังจากนั้นจะเกิดการอักเสบของชั้นผิว ร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมผิวใหม่ เกิดการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใหม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับ Fractional RF (Radio frequency) ได้ เรียกว่า Fractional Microneedling RF โดยการติดเข็มจะทำให้การส่งพลังงานลงไปได้ลึกมากขึ้น เพราะเมื่อมีเข็มแทงลงไปพลังงานก็จะออกตลอดตามแนวเข็ม ตัวอย่างเครื่องมือ เช่น Fractora การรักษาหลุมสิววิธีนี้ไม่ทำให้ผิวด้านบนถูกทำลายเยอะ จึงไม่ทำให้ผิวหน้าบางหรือสร้างรอยดำคล้ำหลังทำ แต่อาจจะมีรอยแดง บริเวณผิวหน้า 1-2 วัน และลอกเป็นขุย 4-5 วัน และหายไปได้เอง วิธีนี้ควรทำห่างกัน 2-4 สัปดาห์ ติดต่อกัน 5 ครั้ง
3.การรักษาด้วยการกรอผิว (Microdermabrasion)
การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า MD วิธีการคือพ่นผลึกแร่ที่ละเอียดมาก เช่น ผง Aluminum oxide, Sodium chloride หรือ Sodium bicarbonate ที่มีขนาดเล็กมากกว่า 100 ไมครอน เพื่อลอกผิวหนังกาพร้าชั้นตื้น ๆ วิธีนี้สามารถใช้ได้กับหลุมสิวทุกประเภท แต่จะเห็นผลดีในหลุมสิวประเภท Rolling scar และต้องเว้นระยะห่างในการทำ เพราะการกรอผิวเพื่อให้ผิวตื้น การผลัดเซลล์ผิวเก่าจะทำให้ผิวหน้าบางไปด้วย การรักษาหลุมสิวด้วยวิธีนี้ใช้เวลาในการทำ 6-10 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1-2 สัปดาห์
4.การรักษาด้วยการเลาะพังผืด (Subcision)
การรักษาหลุมสิววิธีนี้ทำโดยใช้เข็มสอดเข้าไปที่ใต้หลุมสิว เพื่อเลาะพังผืดที่ดึงรั้งผิวออกไป ทำให้ผิวสามารถซ่อมแซมส่วนนี้ได้โดยที่ไม่ต้องผลัดผิวชั้นตื้น ผลข้างเคียงอาจมีอาการเจ็บช้ำบริเวณใบหน้า 1-2 สัปดาห์ สามรถทำได้เดือนละ 1 ครั้ง จะเห็นผลเมื่อทำประมาณ 3-5 ครั้ง แต่วิธีนี้หากดูแลรักษาไม่ดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อใต้ผิวหนัง เกิดเป็นแผลใหม่ และกลายเป็นแผลเป็นนูนจากการรักษา
5.การรักษาด้วยการศัลยกรรมหลุมสิว (Punch Excision & Grafting)
เป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่หาย วิธีนี้เหมาะกับการ รักษาหลุมสิว ประเภท Ice Pick scar ขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร โดยวิธีการรักษาหลุมสิวแบบนี้จะแบ่งย่อยเป็น 4 วิธี คือ
- Punch excision เป็นการผ่าตัดรอยหลุมสิวออก แล้วเย็บแผลให้ติดกัน ทำได้กับหลุมสิวระดับ Box scar และ Ice pick scar
- Punch elevation เป็นการผ่าตัดหลุมสิวโดยยกเนื้อบริเวณหลุมสิวขึ้นมาให้เท่ากับเนื้อผิวปกติ แล้วทำการเย็บเนื้อที่ยกขึ้นมาให้ติดกับเนื้อผิวโดยรอบ ทำได้กับหลุมสิวระดับ Box scar
- Punch grafting ปิดหลุมสิวโดยการเอาเนื้อบริเวณอื่นของเรามาปิดแทนที่หลุมสิว แล้วทำการเย็บปิดเพื่อให้เนื้อเยื่อเติบโตเต็มหลุมสิว เป็นวิธีที่เหมาะกับหลุมสิวที่ลึกไม่สม่ำเสมอ ทำได้กับหลุมสิวระดับ Box scar และ Ice pick scar
- Elliptical excision เป็นการผ่าตัดหรือกรีดหลุมสิวให้เป็นวงรีและจัดการเย็บแผลให้ติดกัน ซึ่งเป็นการเย็บปิดแผลเป็นหลุมสิวให้แนบสนิท
หลังทำแผลจะแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ อาจพบรอยแผลเป็นบางๆ ต้องรักษาต่อด้วยการทำเลเซอร์ วิธีนี้เป็นการรักษาหลุมสิว แบบครั้งเดียวแต่ก็ทิ้งรอยแผลเป็นใหม่ไว้ได้ง่ายเช่นกัน
6.การรักษาด้วยการฉีดฟิลเลอร์ (Filler)
การฉีดฟิลเลอร์ เติมเต็มหลุมสิวเหมาะกับการรักษาหลุมสิวในระดับตื้นถึงลึกปานกลางโดยเป็นการใช้สารเติมเต็ม เช่น ไฮยาลูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) ฉีดเข้าไปที่ก้นหลุมเพื่อปิดรอยหลุมให้ตื้นขึ้น วิธีนี้ค่อนข้างได้ผลประมาณ 30-70% เห็นผลในทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้ร่างกายสร้างเนื้อขึ้นมาเอง การฉีด 1 ครั้ง จะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน – 1 ปี เพราะเป็นสารที่สามารถเสื่อมสลายไปได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ทิ้งสารติดค้างกับร่างกาย วิธีนี้เหมาะกับหลุมสิวประเภท Rolling scar เพราะไม่มีพังผืดเกาะที่หลุม
7.การรักษาด้วยสมุนไพรธรรมชาติ (Natural Extract)
เป็นการรักษาหลุมสิวด้วยสมุนไพรธรรมชาติ ไม่ก่อการระคายเคืองผิวเหมือนวิธีใช้สารเคมีอื่น ๆ เหมาะกับคนที่มีหลุมสิวแบบ Ice pick scar ที่หลุมสิวนั้นไม่ได้กินลึก ตัวอย่างเช่น
- กรด AHA เป็นการใช้กรดผลไม้ธรรมชาติ เช่น มะนาว มะขาม มาช่วยผลัดเซลล์ผิว กำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว การอุดตันของรูขุมขน และทำให้รอยหลุมสิวดูจางลงได้ โดยควรเลือกใช้ความเข้มข้นให้เหมาะกับสภาพผิวหน้า หากผิวแพ้ง่ายหรือผิวแห้งควรงดใช้
- ว่านหางจระเข้ ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยให้หลุมสิวค่อย ๆ ตื้นขึ้น สมานผิวได้ดี กระชับรูขุมขน และมีสารอะลอคตินเอ (Aloctin A) ช่วยป้องกันการอักเสบของผิวอีกด้วย
- ใบบัวบก ช่วยฟื้นฟูผิวและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน มีสารไกลโคไซด์ (Glucosides) ช่วยฟื้นฟูรอยแผล รักษาหลุมสิว ให้จางลงได้
- มะละกอสุก ในมะละกอมีเอนไซม์ชื่อปาเปน (Enzyme Papain) และโคโมปาเปน (Chymopapain) มีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ ยังกระตุ้นการสมานแผลโดยออกฤทธิ์ช่วยย่อยสลายคอลลาเจนให้เร็วขึ้นเพื่อที่จะนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ใหม่ได้เร็วขึ้น
- น้ำมะพร้าวสกัดเย็น ช่วยให้หลุมสิวนุ่มและจางลง น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (Lauric acid) ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วย รักษาหลุมสิว ให้หน้าเรียบเนียน
8.การรักษาด้วยยาสูตรผสมเคมี (Chemical)
- กรด TCA จะช่วยเร่งผิวใหม่ให้เกิดการแบ่งตัวเร็วขึ้นรอยหลุมสิวค่อย ๆ ตื้นขึ้น หากแต้มสัปดาห์ละครั้งจะมีระยะเวลาเห็นผลประมาณ 3-6 เดือน จะแต้มเฉพาะที่เกิดรอยหลุมสิวเท่านั้น เพราะการใช้กรด TCA ในการ รักษาหลุมสิว จะทำให้ผิวบริเวณที่ทาการรักษาเป็นสะเก็ดดำ ๆ ได้
- กรดวิตามินเอ สำหรับคนที่กลัวการเป็นสะเก็ดและไม่ได้รีบร้อนในการรักษาหลุมสิว สามารถใช้กรดวิตามินเอมาทาบนรอยหลุมสิวเพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และยังสามารถใช้ได้บ่อยกว่ากรด TCA อีกด้วย โดยแต้มได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- ใช้การทายาในกลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอในการ รักษาหลุมสิว เช่น Retin A เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว
- การรักษาด้วยกรดซาลิซีลิก (Salicylic) เป็นการแต้มกรดซาลิซีลิกเฉพาะจุด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ที่บริเวณนั้น จะช่วยให้หลุมสิวบริเวณนั้นตื้นขึ้น
Proscan FR คืออะไร?

Proscan FR คือ เทคโนโลยี CO2 Laser สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวหน้าและเรือนร่าง ช่วยรักษาสิวหรือรอยหลุมสิว ริ้วรอยตื้นหรือลึก รวมถึงผู้ที่ต้องการกำจัดไฝ ขี้แมลงวัน หูด หรือตัดติ่งเนื้อต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหาความหย่อนคล้อยของช่องคลอดให้มีความกระชับขึ้นและสามารถช่วยให้บริเวณจุดซ่อนเร้นมีความขาวกระจ่างใสขึ้นได้
เครื่อง Proscan FR ประกอบด้วยโหมดอะไรบ้าง
1. Facial & Skin treatments
เป็น Normal mode ที่ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการจี้ไฝ ขี้แมลงวัน หูด หรือตัดติ่งเนื้อ โหมดนี้จะเป็นการยิงพลังงานไปยังจุดที่ต้องการทำการรักษา ส่งผลให้ส่วนที่ไม่ต้องการเกิดการไหม้หรือหลุดลอกไป
2. Fractional CO2 Mode
เป็นโหมดที่รักษารอยหลุมสิวโดยการยิงพลังงานให้กระจายทั่วบริเวณผิวหน้าและทำให้เกิดแผลขนาดเล็ก ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการรักษาบาดแผลของร่างกายและเกิดการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้รอยแผลเป็นและรอยหลุมสิวจางลง
3. Vaginal Mode
เป็นโหมดที่ใช้สำหรับกระชับช่องคลอด มีไลน์ในการกำหนดระยะการใส่และถอดหัวเพื่อให้เลเซอร์ทำการรักษาได้ทั่วบริเวณช่องคลอดที่มีการหย่อนคล้อย
4. Valva Mode
เป็นโหมดที่ใช้สำหรับปรับสภาพผิวบริเวณภายนอกช่องคลอด โดยหัวที่ใช้ทำการรักษาจะสัมผัสบนผิวบริเวณภายนอกช่องคลอด ยิงพลังงานลงสู่ผิวทำให้ผิวบริวณที่โดนสัมผัสขาวกระจ่างขึ้น
มาตรฐานความปลอดภัย เครื่อง Proscan FR ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย เเละได้รับมาตรฐาน CE ที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป
Fractional CO2 คืออะไร?

Fractional CO2 คือ การรักษาผิวทีละส่วนโดยใช้ CO2 Laser ที่มีอนุภาคเล็กมาก ความยาวช่วงคลื่น 10,600 nm ปล่อยลำแสงออกเป็นจุดเล็ก ๆ เข้าไปกระตุ้นให้ผิวเกิดแผลในบริเวณที่ยิง โดยเมื่อผิวเป็นแผลจะกระตุ้นกระบวนการผลัดเซลล์ผิว ทำให้ร่างกายสร้างผิวหนังใหม่มาทดแทนผิวเดิม และเร่งการสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสตินใต้ผิวให้ผิวมีความยืดหยุ่น เรียบเนียนขึ้น หลังยิง 2-4 วันแรก จะมีอาการบวมแดงขึ้นและเริ่มตกสะเก็ด หลังจากทำไปประมาณ 7 วัน สะเก็ดแผลก็จะค่อย ๆ ลอกหลุดออกเอง หลังการผลัดเซลล์ใหม่ ผิวจะเรียบเนียน นุ่ม และใสขึ้น รอยดำจางลง รอยแดงลดลง รูขุมขนกระชับ หลุมสิวตื้นขึ้น ริ้วรอยจางลง สุขภาพผิวดีขึ้น
Fractional CO2 จะมีระบบ Scanner ช่วยจับระดับความตื้นลึกของผิวบริเวณที่ทำการรักษา จึงสามารถกำหนดระดับความลึกของเลเซอร์ให้พอดีกับทั้งผิวนูนและผิวที่เป็นหลุม สามารถเลือกบริเวณที่ทำการรักษาได้เฉพาะเจาะจงโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ
Fractional CO2 สามารถทำที่บริเวณไหนได้บ้าง?

บริเวณที่สามารถทำ Fractional CO2
- บริเวณที่เป็นหลุมสิว
- บริเวณรูขุมขนกว้าง
- รอยร่องลึกที่แก้มและหน้าผาก
- ริ้วรอยเล็กรอบดวงตา รอบปาก
- รอยแผลเป็น รอยแตกลาย
- บริเวณที่ผิวหยาบกร้าน เช่น ข้อศอก ข้อเข่า