top of page

หูดและตาปลา ต่างกันอย่างไร?

ข้อมูลจาก Modella Clinic

โอ๊ยย!! ใส่รองเท้าก็เดินลำบาก ถ้าใครไม่เคยเป็นคงไม่รู้แน่ว่าทรมานแค่ไหน

แบบนี้ต้องรีบหาวิธีจัดการกับหูดและตาปลาแล้วล่ะ ส่วนคนที่ไม่เคยเป็น

ถ้ารู้ข้อมูลจาก Modella Clinic ไว้บ้างจะได้เป็นเเนวทางในการป้องกันไม่ให้ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดหูดกับตาปลากันดีกว่าค่ะ





ลักษณะของ หูด ( Warts ) และตาปลา ( Corns )

ตาปลา ( Corns )

มีลักษณะเนื้อเยื่อชั้นบนของผิวหนังหนานูนเป็นตุ่มเล็กๆ ผิวหนังแห้งกราน มีอาการเจ็บบริเวณที่เกิดตาปลา พบได้ในบุคคลทั่วไป บริเวณที่พบ ฝ่าเท้า นิ้วเท้า ฝ่ามือ


สัญญาณของอาการตาปลา

- เป็นปื้นหนา สากด้าน ผิวแห้งบริเวณที่เริ่มมีอาการ

- เริ่มเห็นตุ่มนูนตรงกลางของบริเวณที่มีอาการ

- เริ่มมีอาการเจ็บและระคายเคืองตรงบริเวณที่มีอาการ


หูด ( Warts )

มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นออกมาจากผิวหนังมีจุดสีดำ หูดมีหลายประเภท ได้แก่ หูดข้าวสุก หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หูดผิวเรียบ หูดตาปลา หูดธรรมดา หูดหงอนไก่ หูดที่อวัยวะเพศ

หูดจะมักพบในเด็กและวัยรุ่น หูดสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่อับชื้นได้ดี สามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสผิวหนัง เพศสัมพันธ์ หรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ที่เป็นหูด


สัญญาณของอาการหูด

- มีติ่งนูนยื่นขึ้นมา มีขนาดประมาณ 1 ซม.

- เกิดขึ้นทั้งเป็นตุ่มเดี่ยว และเป็นกลุ่ม

- มีอาการคันบริเวณตุ่ม





สาเหตุของการเกิดตาปลาและหูด

สาเหตุของการเกิดตาปลา

เกิดจากการเสียดสีหรือกดทับระหว่างผิวหนังกับวัตถุ เช่น การใส่รองเท้าที่คับเกินไป ไม่เหมาะกับรูปเท้าของเรา หรือลักษณะการเดินที่ไม่ถูกวิธี ทำให้มีแรงกดที่ฝ่าเท้า นิ้วเท้านานๆ จนทำให้เกิดการสร้างพังผืดแข็งขึ้นมารองรับจุดๆ นั้นแทนที่จะเป็นเนื้อธรรมดา

ภาวะแทรกซ้อนจากตาปลามักพบในผู้ป่วยเบาหวาน หากเป็นแล้วไม่รักษาให้ดีอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อได้


สาเหตุของการเกิดหูด

เกิดจากการได้จากเชื้อไวรัส Human Papilloma( HPV ) อาการจะเกิดค่อนข้างเร็วเป็นตุ่มขรุขระมีจุดดำๆ บริเวณตุ่ม บีบเจ็บพบได้ทุกส่วนของมือและเท้า บริเวณตุ่ม

โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นอันตรายแต่บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หูดเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยมักจะเติบโตตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่ใบหน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ






หูดมีกี่ชนิด?

หูดมีกี่ชนิด? มารู้จักหูดแต่ละชนิดกัน

1. หูดชนิดทั่วไป (Common warts) มีลักษณะนูนตุ่มกลมแข็ง ขรุขระ มีขนาดประมาณ 2-10 มิลลิเมตร สีเหลือง สีน้ำตาล พบบริเวณ นิ้วมือ นิ้วเท้า ใบหน้า ข้อศอก ข้อเข่า

2. หูดคนตัดเนื้อ (Butcher’s warts) มีลักษณะนูนแข็ง จะพบที่มือ

3. เป็นหูดที่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน ลักษณะของหูดจะเหมือนกับหูดทั่วไป แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีผิวขรุขระมากกว่า พบได้ในผู้ที่มีอาชีพแล่เนื้อดิบ

4. หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar warts and Plantar warts) เป็นตุ่มกลม นูนเล็กน้อยสามารถเกิดรวมกันเป็นกลุ่มจนทำให้ดูเป็นหูดที่มีขนาดใหญ่ได้

5. หูดชนิดแบนราบ (Plane warts, Flat warts) จะนูนขึ้นจากผิวเล็กน้อย ต่างจากหูดประเภทอื่นๆ มักพบขึ้นบริเวณ ใบหน้าหลังมือ

6. หูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) จะขึ้นเป็นติ่งเนื้องอกอ่อนๆ ผิวขรุขระ สีชมพูหรือสีเนื้อ และจะเริ่มขนาดเล็กๆ ขยายตัวลุกลามใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก

7. หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) เป็นตุ่มกลมผิวเรียบ ตรงกลางมีรอยบุ๋ม จะเป็นหูดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอมซีวี (Molluscum contagiosum virus) ส่วนใหญ่






หูดกับตาปลา เหมือนและต่างกันอย่างไร?

หูดกับตาปลา เหมือนและต่างกันอย่างไร


ความเหมือน

หูดและตาปลานั้นมีความเหมือนกันตรงที่

- มีขนาดเล็ก ผิวหนังมีความแข็งและด้าน

- ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณเท้า

- มีอาการเจ็บเมื่อไปโดนหรือสัมผัส


ความต่างของหูดกับตาปลา

หูดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ส่วนตาปลาสามารถเกิดได้เฉพาะบริเวณมือและเท้าเท่านั้น

ซึ่งหูดเกิดจากไวรัส ตาปลาเกิดจากแรงเสียดสีและการกดทับ


ลักษณะที่สังเกตได้ : หูดมีลักษณะเป็นหลุมลงไปที่บริเวณผิวหนังและจะมีเส้นสีดำลึกลงไปใต้ชั้นผิว ส่วนตาปลาจะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากชั้นผิวหนัง เป็นขุยๆ และมีความแห้งกร้าน





วิธีการดูแลรักษาหูดและตาปลา

วิธีการดูแลรักษาหูด

- การทายาใช้กับหูดที่มีขนาดเล็ก ยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดไตรคลออะซิติก หรือไบคลออะซิติก โดยระยะเวลาที่รักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของหูด - การจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว เป็นการรักษาด้วยความเย็น ลักษณะบริเวณที่รับการรักษา แผลจะบวมพองหรืออาจจะเป็นตุ่มน้ำได้ อาจจะมีเลือดออกอยู่ข้างใน หลังจากนั้นจะตกสะเก็ด ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ - การจี้ด้วยไฟฟ้า โดยใช้ความร้อน - การจี้ด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Laser) ปัจจุบันเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากเห็นผลเร็ว อาการหลังการรักษาบริเวณที่เป็นหูดจะเกิดแผลและตกสะเก็ดราว 1 สัปดาห์ - การผ่าตัด วิธีการคือผ่าตัดเอาก้อนหูดออกจากผิวหนังไปทั้งก้อน ปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก


วิธีการดูแลรักษาตาปลา

- การกำจัดตาปลา (Corns) เองที่บ้าน สำหรับตาปลาที่ยังไม่หนามาก โดยแช่บริเวณเป็นตาปลาในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที จากนั้นใช้หินขัดผิวหนังที่ตายออก ค่อยๆ ขัดระวังอย่าแรงเกินไป อาจทำให้เลือดออกและเกิดการติดเชื้อได้

- ใช้แผ่นแปะตาปลา เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงระหว่างผิวหนังกับรองเท้า

- รับประทานยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อทางผิวหนัง โปรดทำตามคำแนะนำในการใช้ยาจากแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันภาวะดื้อยา

- ทามอยเจอร์ไรเซอร์ ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวได้ทุกวันเพื่อให้ตาปลานุ่มลง

- สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ขนาดพอดีกับเท้า ส่วมใส่สบาย ควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงเย็น

- การผ่าตัด ในบางกรณีเท่านั้น เช่น กลุ่มคนที่มีปัญหาด้านกระดูก ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น





วิธีรักษาหูดด้วยตัวเองที่บ้าน

วิธีรักษาหูดด้วยตัวเองที่บ้าน

- ใบโหระพา นำมาปั่นให้ละเอียดแล้วพอกตรงบริเวณหูด จากนั้นใช้พลาสเตอร์ชนิดกันน้ำแปะไว้ เปลี่ยนใบโหระพาทุกวัน ซึ่งจะเห็นผลภายในหนึ่งสัปดาห์

- น้ำมันละหุ่ง หูดที่มีขนาดเล็กเพียงทา 2-3 ครั้ง หูดก็สามารถหลุดออกเองได้

- กระเทียม นำมาฝานบางๆแล้วแปะบริเวณที่เป็นหูด ปิดด้วยพลาสเตอร์ยาทำทุกวันอย่างต่อเนื่องจนกว่าหูดจะหลุด (อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนาน)





การรักษาตาปลาด้วยตัวเองที่บ้าน

การรักษาตาปลาด้วยตัวเองที่บ้าน

- เปลี่ยนรองเท้าที่ใส่ประจำวัน ไม่ให้หลวมหรือคับแน่นจนเกินไปเพื่อลดแรงบีบรัดและกดทับ อาจจะใส่ถุงเท้าเข้าไปเพื่อลดแรงเสียดสี

- แช่เท้าลงในน้ำอุ่นที่มีอุณภูมิพอเหมาะ 10 นาทีเพื่อให้ตาปลานั้นนิ่มลง หลังจากนั้นใช้หินหรือตะไบค่อยๆ ขัดเบาๆ และทาครีมบำรุงผิวทำแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าตาปลาจะหายไป

- ใช้กระเทียมฝานเป็นชิ้นหนาๆ ถูบริเวณที่เป็นตาปลาเพื่อให้นิ่มลง เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หรือจนกว่าตาปลาจะหายไป

- ใช้เบกกิ้งโซดาประมาณ 2-3 ช้อนโต้ะผสมน้ำมะนาวและน้ำเล็กน้อย ทาที่ตาปลาหลังจากนั้นปิดทับด้วยพลาสเตอร์ไว้ 1 คืน พอเช้าให้แกะออกแช่เท้าในน้ำอุ่นแล้ว- ขัดเบาๆ ด้วยหินหรือตะไบทำจนกว่าตาปลาจะดีขึ้น





ข้อดีของการรักษาด้วย CO2 Laser

CO2 Laser เลเซอร์ที่ผลิตแสงความยาวช่วงคลื่น 10,600 nm. โดยกระตุ้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้คายพลังงานออกมาในรูปแบบของแสง ใช้ในการรักษาปัญหาผิวต่างๆ อาทิเช่น ไฝ, ขี้แมลงวัน, หูด, ติ่งเนื้อ, กระเนื้อ, สิวหิน, สิวข้าวสาร, สิวอุดตัน และต่อมไขมันที่โตผิดปกติ ซึ่งในการรักษาด้วยเลเซอร์บางคนที่มีปัญหาผิวหลายจุด เช่น มีไฝหลายเม็ด ไฝเม็ดใหญ่ หรือมีกระเนื้อมาก ก็สามารถยิงเลเซอร์ในคราวเดียวได้ การรักษาปัญหาผิวด้วยแสงเลเซอร์ CO2 ไม่ยุ่งยากและมีความปลอดภัยสูงโอกาสเป็นแผลเป็นน้อย


ข้อดีของการรักษาด้วย CO2 Laser

• เลเซอร์จะทำลาย หรือตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่แสงเลเซอร์ โฟกัสเท่านั้น โดยที่เนื้อเยื่อรอบข้างจะไม่ถูกทำลาย

• ขอบแผลเรียบสวย เนื่องจากความแม่นยำของแสงเลเซอร์ในการผ่าตัด

• ไม่มีเลือดออก หรืออาจจะมีเลือดออกน้อยมาก ด้วยเทคโนโลยรสมัยใหม่ เลเซอร์จะช่วยในการหยุดเลือดไปในตัวด้วย (Coagulation)

• โอกาสเกิดแผลเป็นน้อย แผลหายเร็ว รอยแผลสวย





ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนทำ Co2 Laser

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนทำ Co2 Laser

• หากมีโรคประจำตัว รับประทานยาหรืออาหารเสริม หรือมีประวัติการแพ้ยาต่างๆ โดยเฉพาะยาชา ควรแจ้งให้ผู้รักษาทราบก่อนการทำเลเซอร์


ขั้นตอนการรักษาด้วย Co2 Laser

-ทายาชา ทิ้งไว้ 30-45 นาที หรือ ฉีดยาชาบริเวณที่ต้องทำการรักษา(ในกรณีที่บริเวณที่จะรักษามีขนาดใหญ่)

-สวมเเว่นดำเพื่อป้องกันเเสงเลเซอร์ขณะทำการรักษา

-ผู้เชี่ยวชาญจะกำหนดพลังงานเเสงให้ตรงกับปัญหา แล้วทำการยิงรักษาด้วยเลเซอร์

-หลังทำการรักษผู้เชี่ยวชาญจะทำความสะอาดแผลและทายาฆ่าเชื้อให้

-นัดดูแผลอีกทีภายใน 1-2 สัปดาห์


โดยทั่วไปแผลที่เกิดจาก Co2 Laser ปากแผลจะเรียบและมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิดแผลเป็น





วิธีป้องกันการเกิดหูดกับตาปลา

วิธีป้องกันการเกิดหูดกับตาปลา

หูดเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดจากคนที่เป็น และหลีกเลี่ยงการใช้ของบางอย่างร่วมกัน เช่น อุปกาณ์ทำเล็บ ตะไบเล็บ กรรไกรตัดเล็บ

และสำหรับคนที่เป็นหูดควรหลีกเลี่ยงการแกะ กัด แคะ จับบริเวณที่เป็นหูดเพราะจะยิ่งทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย


ส่วนวิธีการป้องกันตาปลานั้น เเพียงเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับขนาดรูปเท้า

วิธีการเช็กง่ายๆ คือ เมื่อใส่รองเท้าแล้วยังสามารถขยับหัวแม่เท้าได้ ถือว่าเป็นการป้องกันเบื้องต้นได้ และควรสวมถุงเท้าเพื่อลดการเสียดสี






ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page