top of page

ไฝ กับ ขี้เเมลงวัน ต่างกันอย่างไร ?

อัปเดตเมื่อ 18 มิ.ย. 2564


วันนี้เกร็ดความรู้ คู่โมเดลล่า จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจ

ระหว่าง ไฝ กับ ขี้เเมลงวัน




วันนี้เกร็ดความรู้ คู่โมเดลล่า

จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจ

ระหว่าง ไฝ ขี้เเมลงวัน

ที่ทำให้ผิวเรานั้น เป็นจุดดำ ด่างไปทั่ว

เเท้จริงเเล้วสาเหตุมันเกิดจากอะไร

เเละโมเดลล่าคลินิก มีวิธีเเนะนำ

ที่จะสามารถกำจัดไฝ เเละ ขี้เเมลงวัน

ออกไปถาวร เเละเห็นผล ได้อย่างไร


พร้อมแล้วไปดูพร้อมกันได้เลย ค่ะ

สวย หล่อ 🧑‍ อย่างปลอดภัย

มั่นใจได้ที่ Modella Clinic


สวยครบ จบที่โมเดลล่าคลินิก


ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Call: 062-619-1942

Line Official : https://lin.ee/uGXLjQn

Facebook : m.me/modellamedicalclinic

Instragram : Modella.clinical

Website : www.modellaclinic.net

Location : https://shorturl.asia/CwZLz

#โมเดลล่าคลินิก#Modellaclinic#คลินิกความงาม#คลินิกดี#คลินิกคุณภาพ#ลิฟท์หน้า#ปรับรูปหน้า

#ลดกราม#โบท็อก#สร้างกล้ามเนื้อ#หน้าใสไร้สิว#หน้าเป๊ะ#หุ่นปัง#เมโส#Meso#Fat#แฟต#เลเซอร์#รักษาฝ้า#รักษาสิว#ร้อยไหม#ฉีดผิว#ลดไขมัน

#กำจัดไฝ#กำจัดขี้เเมลงวัน#ไฝ#ขี้เเมลงวัน






ไฝและขี้แมลงวันมาจากไหน?

ไฝและขี้แมลงวันมาจากไหน?

ไฝและขี้แมลงวันเป็นความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ผิวหนังในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีให้กับผิวเมื่อเซลล์เม็ดสีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจึงกลายเป็นตุ่มสีต่างๆในบริเวณนั้น มีความผิดปกติเกิดขึ้น ทั้งรูปร่าง ขนาด และจำนวนของเซลล์ และมีการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น ตั้งแต่สีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลดำ มักเกิดขึ้นกับคนผิวขาวมากกว่าผิวคล้ำ เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติทั่วๆร่างกายตั้งแต่วัยเด็ก แต่จะพบบ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เกี่ยวข้องกับสภาพผิว (Skin type) ของแต่ละคน, พันธุ์กรรม, แสงแดด, และอายุ





ไฝและขี้แมลงวันต่างกันอย่างไร?

ไฝและขี้แมลงวันต่างกันอย่างไร?

ขี้เเมลงวัน เกิดจากร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานิน จากเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ที่ผิดปกติในชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดจุดขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร ตามใบหน้าและร่างกาย เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ขี้แมลงวันก็อาจเพิ่มจำนวนขึ้นได้

ไฝ เกิดจากร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินจากเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) และมีการเจริญของเซลล์ ที่ผิดปกติชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิด จุดสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูน มีขนาดใหญ่กว่าขี้แมลงวัน ซึ่งไฝขนาดเล็กไม่เป็นอันตราย แต่หากมีขนาดใหญ่ โตเร็วกว่าปกติ มีเลือดออก หรือแตกเป็นแผล ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนังได้





ไฝและขี้แมลงวันแบบไหนที่ไม่ควรมี!!

โดยปกติไฝและขี้แมลงวันจะมีผลในเรื่องของความสวยงามหากปรากฏในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ใบหน้า ลำคอ แขน ขา ซึ่งบางคนเชื่อว่าไฝและขี้แมลงวันที่ขึ้นตามจุดต่างๆ ของร่างกายมีผลต่อการใช้ชีวิต มีแล้วไม่เป็นมงคลก็มักจะกำจัดออก ข้อสำคัญที่ควรทราบคือไฝและขี้แมลงวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้

โดยสังเกตลักษณะของ ไฝ ขี้แมลงวัน ที่อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย มีดังนี้

1. ไฝหรือขี้แมลงวัน ที่ได้รับการระคายเคืองบ่อยๆ

2. ไฝหรือขี้แมลงวัน ในบริเวณที่สังเกตได้ยาก เช่น บนหนังศีรษะ หรืออวัยวะเพศ

3. ไฝหรือขี้แมลงวัน ที่มีมาแต่กำเนิดและขนาดใหญ่ เช่น ไฝยักษ์ ( Giant congenital melanoma)

ไฝหรือขี้แมลงวัน ที่มีลักษณะผิดปกติ ได้แก่

1. สีดำเข้มผิดปกติกว่าที่อื่นๆ

2. สีที่ไม่สม่ำเสมอ หรือสีเปลี่ยนอย่างกะทันหัน

3. ขอบเขตไม่เรียบ

4. ขนาดใหญ่เกิน 5 มม.

5. โตเร็วผิดปกติ






ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไฝและขี้แมลงวัน

ปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์ และการโดนแสงแดดเป็นประจำ ที่เร่งให้เซลล์สร้างเม็ดสีผิดปกติ แสงแดดมีผลโดยตรงในการกระตุ้นให้สีของไฝและขี้แมลงวันเข้มขึ้นซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งผิวหนัง (Lentigo Maligna) สำหรับผู้ที่ผ่านการรักษามาแล้วก็ควรเลี่ยงการเผชิญแสงแดดที่อาจทำให้แผลดำคล้ำขึ้นได้ แนะนำให้ทาครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากแสงแดดทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องเผชิญแดดร้อนจัด เพื่อป้องกันไฝและขี้แมลงวันลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งผิวหนังหรือสำหรับผู้ที่ผ่านการรักษามาแล้วก็อาจมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นได้อีกหากไม่ดูแลอย่างถูกวิธี





การกำจัดไฝและขี้แมลงวัน ทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 4 วิธีหลัก

การกำจัดไฝและขี้แมลงวัน ทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 4 วิธีหลัก

1. การจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้ไฝหรือขี้แมลงวันเพื่อให้เซลล์ค่อยๆ แห้งและสลายตัวไป

2. การแต้มกรด TCA (Trichloroacetic Acid) เข้าไปทำปฏิกิริยากับไฝและขี้แมลงวันให้เกิดการกัดกร่อนและหลุดออกมา

3. การผ่าตัด ใช้มีดผ่า หรือตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่เป็นไฝ หรือ ขี้แมลงวันเพื่อเอาออกไป

4. การใช้แสงเลเซอร์ CO2 ใช้แสงเลเซอร์ยิงเข้าไปทำลายผิวบริเวณที่เป็นไฝหรือขี้แมลงวัน ใช้เวลารวดเร็วและสามารถกำจัดไฝและขี้แมลงวันออกได้ครั้งละหลายๆ เม็ด หลังจากทำเสร็จแพทย์จะทายาป้องกันการติดเชื้อและปิดพลาสเตอร์ไว้เพื่อป้องกันแผลโดนน้ำ ซึ่งรอยแผลจะค่อยๆ หายไปประมาณ 3 – 4 สัปดาห์





ทำความรู้จักกับ CO2 Laser

ทำความรู้จักกับ CO2 Laser

CO2 Laser เป็นเลเซอร์ที่ผลิตแสงที่มีความยาวช่วงคลื่น 10,600 nm.โดยจะกระตุ้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้คายพลังงานออกมาในรูปแบบแสง ใช้ในการรักษาปัญหาผิวพรรณต่างๆ อาทิ ไฝ, ขี้แมลงวัน, หูด, ติ่งเนื้อ, กระเนื้อ, สิวหิน, สิวข้าวสาร, สิวอุดตัน และต่อมไขมันโต ซึ่งในการรักษาด้วยเลเซอร์ ในบางคนที่มีปัญหาผิวหลายๆ จุด เช่น มีไฝหลายเม็ด ไฝเม็ดใหญ่ หรือมีกระเนื้อจำนวนมาก ก็สามารถยิงเลเซอร์ในคราวเดียวได้ การรักษาปัญหาผิวพรรณด้วยแสงเลเซอร์ CO2 ไม่ยุ่งยากและมีความปลอดภัยโอกาสเป็นแผลเป็นต่ำ





ข้อดีของการรักษาด้วย CO2 Laser

ข้อดีของการรักษาด้วย CO2 Laser

• เลเซอร์จะทำลาย หรือตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่แสงเลเซอร์ โฟกัสลงไปเท่านั้น โดยที่เนื้อเยื่อรอบข้างจะไม่ถูกทำลาย • ขอบแผลเรียบสวย เนื่องจากความแม่นยำของแสงเลเซอร์ในการผ่าตัด

• ไม่มีเลือดออกที่บาดแผล หรือเลือดออกน้อยมาก เนื่องจากเลเซอร์จะช่วยในการหยุดเลือดไปในตัวด้วย (Coagulation)

• แผลหายเร็ว และรอยแผลสวย

• โอกาสเกิดแผลเป็นน้อย





ขั้นตอนการรักษาด้วย CO2 Laser

ขั้นตอนการรักษาด้วย CO2 Laser

• หลังจากทำความสะอาดใบหน้าแล้วจะทายาชาบริเวณที่จะทำเลเซอร์ และรอจนกว่ายาชาออกฤทธิ์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45 นาที

• ทำการปิดตาเพื่อป้องกันแสงเลเซอร์ จากนั้นจะยิงเลเซอร์บริเวณที่รักษา ขณะยิงจะไม่รู้สึกเจ็บและไม่มีการเสียเลือดใดๆ ระยะเวลาในการทำขึ้นกับจำนวนเม็ดที่ยิง เช่น ถ้าไฝ 1 เม็ด ใช้เวลา 5 นาที ถ้าหลายเม็ดทั้งใบหน้าอาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที

• หลังทำเสร็จจะเป็นแผลเล็กๆ ตามด้วยทายาป้องกันการติดเชื้อและติดพลาสเตอร์ใสไว้ เพื่อป้องกันแผลโดนน้ำ ทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักฟื้นใดๆ และกลับไปทำงานได้ตามปกติ





5 วิธีการดูแลตัวเองหลังทำ CO2 Laser

5 วิธีการดูแลตัวเองหลังทำ CO2 Laser

• งดแผลโดนน้ำ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน หากโดนน้ำ ให้รีบซับให้แห้งโดยทันที

• หลังทำ 1 วัน สามารถแกะพลาสเตอร์ใสออกและสัมผัสน้ำได้ แพทย์จะให้ยาไปทาต่อที่บ้าน ให้ทำแผลวันละ 2 ครั้ง โดยใช้น้ำเกลือเช็ดแผลให้สะอาด และทายาที่แพทย์ให้ไปเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อประมาณ 7 วัน

• แผลอาจจะตกสะเก็ดหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีสะเก็ดควรปล่อยให้หลุดไปเอง ห้ามแกะเกาให้สะเก็ดหลุดเร็วขึ้นเด็ดขาด

• หลังทำเลเซอร์ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด เพราะอาจทำให้แผลดำคล้ำขึ้นได้ เมื่อแผลหายเป็นปกติแล้วควรป้องกันผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไป






ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page